นายจ้างและผู้ประกันม. 33 รู้หรือยัง สปส. ปรับเกณฑ์เงินสมทบ
จากวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566 กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กำลังพิจารณาการกำหนดค่าจ้างขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ของผู้ประกันตนมาตรา 33 อัตราใหม่
ระยะที่ 1 วันที่ 1 มกราคม 2567 - 31 ธันวาคม 2569 จำนวนไม่เกินเดือนละ 1,650 บาทโดยฝั่งลูกจ้างและนายจ้าง จะส่งเงินสมทบฝ่ายละ 5% ของค่าจ้าง แต่สูงสุดฝ่ายละไม่เกิน 875 บาทต่อเดือน โดยคำนวณจากฐานค่าจ้างสูงสุด 17,500 บาท จากเดิมต้องส่งสบทบที่ฝ่ายละ 750 บาทต่อเดือน
ระยะที่ 2 วันที่ 1 มกราคม 2570- 31 ธันวาคม 2572 จำนวนไม่เกินเดือนละ 2,000 บาทโดยฝั่งลูกจ้างและนายจ้าง จะส่งเงินสมทบฝ่ายละ 5% ของค่าจ้าง แต่สูงสุดฝ่ายละไม่เกิน 1,000 บาทต่อเดือน โดยคำนวณจากฐานค่าจ้างสูงสุด 20,000 บาท จากเดิมต้องส่งสบทบที่ฝ่ายละ 750 บาทต่อเดือน
ระยะที่ 3 วันที่ 1 มกราคม 2573 เป็นต้นไป จำนวนไม่เกินเดือนละ 2,300 บาทโดยฝั่งลูกจ้างและนายจ้าง จะส่งเงินสมทบฝ่ายละ 5% ของค่าจ้าง แต่สูงสุดฝ่ายละไม่เกิน 1,150 บาทต่อเดือน โดยคำนวณจากฐานค่าจ้างสูงสุด 20,000 บาท จากเดิมต้องส่งสบทบที่ฝ่ายละ 750 บาทต่อเดือน
ซึ่งเหตุผลในการปรับฐานคำนวณเงินสมทบ มีสาเหตุมาจาก
1. เพื่อสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และเป็นไปตามมาตรฐานเพดานค่าจ้างขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ
2. เพื่อความเพียงพอของสิทธิประโยชน์ที่เป็นเงินทดแทนการขาดรายได้
3. เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับกองทุนรองรับรายจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้น
4. เพื่อการกระจายรายได้จากผู้มีรายได้มากไปสู่ผู้มีรายได้น้อย ภายในระบบประกันสังคม
5. เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบประกันสังคม
จากข้อมูลดังกล่าวแม้นายจ้างหรือผู้ประกอบการจะต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมที่เพิ่มขึ้น แต่หากทว่ามองกลับกันก็ถือเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในด้านความรับผิดชอบต่อชีวิตพนักงานของธุรกิจ ซึ่งพนักงานมองว่าเป็นหลักประกันชีวิตขั้นพื้นฐานที่ควรได้รับ เพิ่มความเชื่อมั่นให้กับธุรกิจ สำหรับการตัดสินใจเลือกเข้าทำงานของพนักงาน และรักษาพนักงานให้อยู่ทำงานด้วยกันต่อไปในระยะยาว เพราะมั่นใจได้ว่าธุรกิจตั้งใจจะดูแลคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
แง่ของลูกจ้างการกำหนดเกณฑ์ใหม่ค่าจ้างขั้นสูงและการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคมนี้ ยังทำให้ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์จากกองทุนประกันสังคมเพิ่มขึ้น เนื่องจากฐานที่ใช้ในการคำนวณเพื่อรับสิทธิประโยชน์ดังกล่าวจะคำนวณจากค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุนประกันสังคม อาทิ เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีเจ็บป่วย, เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ, เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร, เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต, เงินทดแทนการขาดรายได้ในกรณีว่างงาน, เงินบำนาญชราภาพ
ที่มา