E-E-A-T คืออะไร? สิ่งที่ต้องรู้ถ้าอยากทำเว็บ SEO ติดหน้าแรก

การทำเว็บไซต์ให้ติดหน้าแรกบน Google คือเป้าหมายสำคัญในการเพิ่มโอกาสให้ผู้คนเข้าชมเว็บไซต์ของเรา ดังนั้นการสร้างเว็บไซต์โดยใช้เทคนิค SEO หรือ Search Engine Optimization จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เว็บไซต์มีการจัดอันดับการค้นหาที่ดียิ่งขึ้น

สิ่งที่เป็นหัวใจหลักของการทำ SEO คือการเขียนเนื้อหาให้มีคุณภาพ ดังคำกล่าวที่ว่า “Content is King” ซึ่งปัจจุบัน เทรนด์ Google SEO 2025 ยังคงแนะนำให้เว็บไซต์เขียนเนื้อหาให้มีคุณภาพตามหลักเกณฑ์ที่ชื่อว่า E-E-A-T
 

E-E-A-T คืออะไร?

Google E-E-A-T คือปัจจัยหนึ่งที่ระบบประมวณผลของ Google ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของเว็บไซต์เพื่อช่วยในการจัดอันดับการแสดงผล เป็นปัจจัยที่ให้ความสําคัญของเนื้อหาภายในเว็บ โดยเนื้อหานั้นควรเป็นสิ่งที่เขียนขึ้นมาใหม่ ไม่คัดลอกข้อความจากบทความอื่น เนื้อหามีประโยชน์กับผู้อ่าน มีความหลากหลายและมาจากหลายแหล่งที่มา

E-E-A-T-Model

เครดิตรูปภาพจาก digitalguider

E-E-A-T ย่อมาจากอะไร

เดิมที Google ได้ออกหลักเกณฑ์ที่ชื่อ E-A-T โดย E-A-T นั้นมาจากคำว่า Expertise (ทักษะความเชี่ยวชาญ), Authoritativeness (การที่เนื้อหามีข้อมูลสนับสนุน) และ Trustworthiness (ความน่าเชื่อถือ) เพื่อเป็นหลักเกณฑ์การช่วยระบบประเมินคุณภาพเว็บไซต์
เพื่อให้สามารถประเมินผลการค้นหาได้ดีขึ้น E-A-T จึงยังไม่เพียงพอต่อความต้องการด้านการจัดอันดับ ในเดือนธันวาคม 2022 Google ได้เผยแพร่บทความอัปเดตที่จะมีหลักเกณฑ์ที่ชื่อ E (Experience) หรือประสบการณ์เพิ่มมาอีกหนึ่งตัว กลายเป็น E-E-A-T (หรือจะเรียก "Double-E-A-T" ก็ได้) สามารถอ่านบทความเพิ่มเติมจาก google developers

eeat-circle

เครดิตรูปภาพจาก onder

E-E-A-T กับการทำ SEO

ในอดีตที่ผ่านมา เมื่อมีคนค้นหาคีเวิร์ดบน Google นั้น ระบบมักแสดงผลลัพธ์ที่ซ้ำซ้อนกัน ยิ่งปัจจุบัน AI ได้เข้ามามีส่วนช่วยในการทำคอนเทนต์ ยิ่งทำให้เกิดเนื้อหาที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน ก่อให้เกิด spam จำนวนมาก Google จึงนำหลัก E-E-A-T มาเป็นหลักเกณฑ์ที่ช่วยผลักดันให้เจ้าของเว็บไซต์ผลิตเนื้อหาให้มีคุณภาพและเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านมากยิ่งขึ้น ช่วยดึงเนื้อหาที่มีคุณภาพให้ติดหน้าแรกบน Google

สามารถยกตัวอย่างการใช้ E-E-A-T กับการทำ SEO ดังนี้

  • E - Experience (ประสบการณ์) 

          E ตัวแรกย่อมาจาก Experience หรือประสบการณ์ กล่าวคือประสบการณ์ของตัวผู้เขียนเนื้อหานั้น ๆ ยิ่งเนื้อหามีความสดใหม่ ไม่ซ้ำกับบทความอื่น ๆ ที่มีอยู่แล้ว หากมีการสอดแทรกความคิดเห็นส่วนตัวลงไปด้วย ก็จะยิ่งทำให้ Google รับรู้ว่าผู้เขียนนั้นมีประสบกรณ์เกี่ยวกับเนื้อหาเหล่านั้นจริง ๆ เช่น บทความเกี่ยวกับอาหาร เขียนโดยนักรีวิวอาหารที่สอดแทรกความคิดเห็นของตนเองลงไปด้วย, บทความรีวิว iPhone 16 เขียนโดยลูกค้าที่ใช้สินค้าจริง

             o    ตัวอย่างการเขียนบทความที่ใช้หลักการ Experience

                - เลือกซื้อหม้อน้ำโฟล์คลิฟท์ต้อง AICO จาก “วรรธนามอเตอร์เวอร์ค” คุณภาพระดับสากล เขียนโดยผู้เชี่ยวชาญด้านอะไหล่โฟล์คลิฟ

                - ตลาดสดบันซ้าน BANZAAN” ศูนย์รวมแหล่งกินเที่ยวของ “ป่าตอง-ภูเก็ต เขียนโดย ตลาดสดภูเก็ต

 

  • E - Expertise (ทักษะความเชี่ยวชาญ)

          E ตัวที่สองย่อมาจาก Expertise หรือ ทักษะความเชี่ยวชาญ กล่าวคือผู้เขียนเนื้อหาหากเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ จะยิ่งทำให้บทความมีความน่าสนใจ เช่น บทความเกี่ยวกับสุขภาพ เขียนโดยแพทย์, บทความเกี่ยวกับกฎหมาย เขียนโดยทนายความ

            o    ตัวอย่างการเขียนบทความที่ใช้หลักการ Expertise

               - เหล็ก(Steel) คืออะไร มีกี่ประเภท และเหมาะกับการใช้งานแบบไหน เขียนโดยร้านขายเหล็ก

               - การเลือกขนาดและความหนา ของแอร์บับเบิ้ลให้เหมาะสมกับสินค้า เขียนโดยโรงงานผลิตแอร์บับเบิ้ล

               - หาวิธีกําจัดปลวกขึ้นบ้านอยู่ใช่ไหม? ฮั้นส์เพสท์ช่วยได้ เขียนโดยบริษัทกำจัดปลวก

 

  • A - Authoritativeness (การที่เนื้อหามีข้อมูลสนับสนุน) 

          A ย่อมาจาก Authoritativeness หรือเนื้อหามีข้อมูลสนับสนุน คือการที่เรามีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ โดยสามารถเขียนบทความที่ทำให้คนรับรู้ว่าเราคือกูรูเรื่องนั้น จนสามารถทำให้คนอื่นนำเราไปเป็นแหล่งอ้างอิงได้ หรืออาจใส่ Backlink กลับมาที่เว็บไซต์ของเรา

            o    ตัวอย่างการเขียนบทความที่ใช้หลักการ Authoritativeness 

               - ประวัติความเป็นมาของ “พลาสติก” เขียนโดยโรงงานผลิตพลาสติก

               - ดอกไม้ปลอม vs ดอกไม้จริง : เลือกแบบไหนดี? เขียนโดยร้านจำหน่ายดอกไม้

 

  • T - Trustworthiness (ความน่าเชื่อถือ) 

          T ย่อมาจาก Trustworthiness หรือความน่าเชื่อถือ คือการสร้างเนื้อหาที่มีความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์ ข้อมูลที่กรอกควรเป็นความจริงทั้งหมด ควรเพิ่มใส่ชื่อกิจการ ข้อมูลการติดต่อของกิจการลงไปด้วย สิ่งสำคัญคือการทำเว็บไซต์ SEO สายขาวและทำตามกฎ SEO ของ Google

            o    ตัวอย่างการเขียนบทความที่ใช้หลักการ Trustworthiness

               - ขายเหล็กดี มีเหล็กถูก พร้อมใบรับรอง มอก. ต้อง “ดรากอนสตีล” เขียนโดยบริษัท ดรากอน สตีล จำกัด

               - โฟร์เค กรุ๊ป ที่ปรึกษา "การตลาด การโฆษณา" ที่เดียวครบ จบทุกเรื่อง เขียนโดยบริษัท โฟร์เค กรุ๊ป จำกัด

               - คอนกรีตคุณภาพคู่นวัตกรรม ต้อง “ส.อรุณคอนกรีต ปทุมธานี เขียนโดยบริษัท ส. อรุณ คอนกรีต ปทุมธานี จำกัด

 

สรุปการนำหลักการ E-E-A-T มาใช้งานในเว็บไซต์ SEO

ในปี 2025 กูเกิ้ลยังคงให้ความสำคัญกับหลักการของ  E-E-A-T  ดังนั้นการทำเนื้อหาให้ที่คุณภาพ  Contentสดใหม่ เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน มีความน่าเชื่อถือจะช่วยให้ระบบเก็บข้อมูลและมีโอกาสช่วยให้เว็บไซต์ของเราติดหน้าแรกบน Google ได้ โดยแนะนำการเขียนเนื้อหาตามหลัก E-E-A-T ดังนี้

  • เขียนเนื้อหาเองแบบสดใหม่ ไม่คัดลอกเนื้อหาจากคนอื่น 
  • แนะนำให้บทความมีความยาวอย่างน้อย 1,000 คำขึ้นไป (ตรวจสอบง่าย ๆ ได้จาก Microsoft word)
  • สร้างความน่าเชื่อถือให้บทความโดยการมุ่งจุดประสงค์ที่เรื่องเดียวเท่านั้น
  • เขียนบทความให้มีความน่าสนใจ ชวนอ่าน อัพเดทเนื้อหาใหม่ ๆ เสมอ
  • บทความควรมี keyword ที่เกี่ยวข้องกับกิจการ
  • แนะนำให้มีลิงก์เชื่อมโยง (Internal Link และ External Link)

หากเจ้าของกิจการที่ต้องการมีเว็บไซต์คุณภาพ ที่ใช้หลัก E-E-A-T  และ SEO สายขาว ที่มีโอกาสช่วยให้เว็บไซต์ติดหน้าแรกบน Google โดยไม่ต้องเสียค่าคลิก แนะนำการทำการตลาดออนไลน์โดย ทีมการตลาด YellowPages หรือโทร 02-262-8888 ต่อ 8686 

 

บทความแนะนำ

การทำเว็บไซต์ให้ติดหน้าแรกบน Google คือเป้าหมายสำคัญในการเพิ่มโอกาสให้ผู้คนเข้าชมเว็บไซต์ของเรา…
ในยุคดิจิทัลที่ธุรกิจออนไลน์เติบโตอย่างรวดเร็ว การทำ SEO Content หรือการสร้างเนื้อหาที่ตอบโจทย์การค้นหาบน Google…
ในยุคดิจิทัลที่การตลาดออนไลน์เติบโตอย่างรวดเร็ว Online Catalog…
ถ้าหากแบ่งธุรกิจในปัจจุบันตามกลุ่มลูกค้าที่พบได้โดยทั่วไป ก็จะสามารถแบ่งได้สองแบบ นั้นคือธุรกิจ B2C หรือ Business to…
เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ทางบริษัท Google ได้มีการอัปเดตในส่วนของการตรวจจับสแปมเพื่อให้ผู้ใช้แพลตฟอร์ม Google…