แคตตาล็อกออนไลน์

บริการ หลักสูตรตามที่กฎหมายกำหนด พร้อมออกใบรับรองการผ่านฝึกอบรมโดยหน่วยฝึกอบรมที่ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงา

1.หลักการและเหตุผล

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 ใช้บังคับแก่กิจการหรือสถานประกอบกิจการ ดังต่อไปนี้

(1) การทำเหมืองแร่ เหมืองหิน กิจการปิโตรเลียมหรือปิโตรเคมี

(2) การทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง เก็บรักษา ปรับปรุง ตกแต่ง เสริมแต่ง ดัดแปลง แปรสภาพ ทำให้เสีย หรือทำลายซึ่งวัตถุหรือทรัพย์สิน รวมทั้งการต่อเรือ การให้กำเนิด แปลง และจ่ายไฟฟ้าหรือพลังงานอย่างอื่น

(3) การก่อสร้าง ต่อเติม ติดตั้ง ซ่อม ซ่อมบำรุง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร สนามบินทางรถไฟ ทางรถราง ทางรถใต้ดิน ท่าเรือ อู่เรือ สะพานเทียบเรือ ทางน้ำ ถนน เขื่อน อุโมงค์ สะพาน ท่อระบาย ท่อน้ำ โทรเลข โทรศัพท์ ไฟฟ้า ก๊าซหรือประปา หรือสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ รวมทั้งการเตรียมหรือวางรากฐานของการก่อสร้าง

(4) การขนส่งคนโดยสารหรือสินค้าโดยทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และรวมทั้งการบรรทุกขนถ่ายสินค้า

(5) สถานีบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงหรือก๊าซ

(6) โรงแรม

(7) ห้างสรรพสินค้า

(8) สถานพยาบาล

(9) สถาบันทางการเงิน

(10) สถานตรวจทดสอบทางกายภาพ

(11) สถานบริการบันเทิง นันทนาการ หรือการกีฬา

(12) สถานปฏิบัติการทางเคมีหรือชีวภาพ

(13) สำนักงานที่ปฏิบัติงานสนับสนุนสถานประกอบกิจการตาม (๑) ถึง (๑๒)

(14) กิจการอื่นตามที่กระทรวงแรงงานประกาศกำหนด

 

     กำหนดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน  ระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง  ระดับวิชาชีพ ระดับบริหาร  คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานและหัวหน้าหน่วยงาน เพื่อทำหน้าที่ในการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ

2.วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน
  • เพื่อให้ลูกจ้างที่มีคุณสมบัติมีความรู้ ความเข้าใจและปฏิบัติหน้าที่ได้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้

3.คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม /กลุ่มเป้าหมาย

  • เป็นลูกจ้างระดับหัวหน้างานของหน่วยงาน  ได้รับการยินยอมจากนายจ้างให้เข้ารับการอบรม

4.วิทยากร       

  • ผู้ทรงคุณวุฒิที่ผ่านการรับรองจาก กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน  กระทรวงแรงงาน

5.ระยะเวลาอบรม        

  • 2 วัน (12ชั่วโมง)

6.หัวข้อบรรยาย

วันที่ 1

08.00-08.30    ลงทะเบียน

08.30-09.00    แนะนำหลักสูตร/ทำแบบทดสอบก่อนการอบรม

09.00-10.30    หมวดวิชาที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานและบทบาทหน้าที่ของหัวหน้างาน

(ก)    ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

(ข)    บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน

12.15-13.15    พักทานอาหารเที่ยง

13.15-16.30    หมวดวิชาที่ 2 กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

(ก) การบริหารกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของกระทรวงแรงงาน

(ข) สาระสำคัญของกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานและการนำกฎหมายไปสู่การปฏิบัติ

วันที่ 2

08.30-09.00    ลงทะเบียน

09.00-12.15    หมวดวิชาที่ 3 การค้นหาอันตรายจากการทำงาน

(ก)    การตรวจความปลอดภัย

(ข)    การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย

(ค)    การสอบสวนและการรายงานอุบัติเหตุ

12.15-13.15    พักทานอาหารเที่ยง 
13.15-16.30    หมวดวิชาที่ ๔ การป้องกันและควบคุมอันตราย

(ก)    การป้องกันและควบคุมอันตรายจากเครื่องจักร

(ข)    การป้องกันและควบคุมอันตรายจากไฟฟ้า

(ค)    การป้องกันและควบคุมอันตรายจากการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บวัสดุ

(ง)     การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ

(จ)    การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมในการทำงาน

(ฉ)    การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสารเคมี

(ช)    การป้องกันและควบคุมปัญหาด้านการยศาสตร์

(ซ)    การป้องกันและควบคุมอันตรายในงานก่อสร้าง

(ฌ)   การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

16.30-16.45    ทดสอบหลังการอบรม /มอบวุฒิบัตร

7.วิธีบรรยาย

  • บรรยายใช้สื่อ power  point / ชม VDO

8.วิธีการประเมินผลและเกณฑ์การวัดผล    

  • ทดสอบก่อน - หลังการอบรม /ระยะเวลาเช้ารับการอบรม 100 %

9.สิ่งที่ได้รับหลังการอบรม                    

  • วุฒิบัตรผ่านการอบรม

โปรดขอรายละเอียดหรือติดต่อฝ่ายบริการลูกค้าหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม