เบอร์ตรงติดต่อ ขอคำแนะนำเรื่องประกัน สุขภาพ
คุณพิษณุ อินสตุล ที่ปรึกษาด้านการลงทุน และประกันชีวิต AIA โทร.
จากการเดินทางไปประชุมสัมมนา Annual Convention Goldcoast ประเทศออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ 16 – 23 ก.ย.2560 ผมเกิดหมดสติในงานกาล่า ดินเนอร์ ถูกนำส่งโรงพยาบาลฉุกเฉิน ROBINA HOSPITAL หมอตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจพบว่าเป็น Brugada Syndrome Type 1 แพทย์แจ้งว่ามีโอกาสเสียชีวิตกระทันหันต้องส่งตัวทำการรักษาทันที ( ใช้เวลา 3 – 5 วัน ) ซึ่งต้องเลื่อน Flight กลับ ผมอยากกลับมารักษาที่เมืองไทย ต้องเซ็นต์จดหมายยินยอมออกจากโรงพยบาลเอง หากเสียชีวิตทาง รพ จะไม่รับผิดชอบ โดยทาง ROBINA HOPITAL ทำหนังสือส่งตัวให้มาทำการรรักษาต่ออย่างด่วนที่สุดที่ประเทศไทย
วันที่ 23 ก.ย.60 ผมเดินทางกลับถึงประเทศไทย หาข้อมูลหมอที่เชี่ยวชาญทางด้านนี้
" ได้รับการนัดหมายจากคุณหมอกุลวี เนตรมณี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ แปซิฟิก ริม ลอสแองเจลีส สหรัฐอเมริกา และอายุแพทย์โรคหัวใจ ผู้เชี่ยวชาญด้านสรีรวิทยากระแสไฟฟ้าหัวใจ ศูนย์หัวใจเต้นผิดจังหวะ โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์ "
💗Brugada Syndrome หรือ "โรคไหลตาย" เป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดจากกระแสไฟฟ้าซึ่งทำหน้าที่ควบคุมกลไกการเต้นของหัวใจมีความผิดปกติ ปัญหาสำคัญของโรคนี้คือผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่ทราบว่าตนเองมีการหัวใจเต้นผิดจังหวะ เนื่องจากการตรวจสุขภาพทั่วไปไม่สามารถตรวจพบความผิดปกติของการเต้นของหัวใจได้
เข้ารับการรักษา โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์
ผมโชคดีที่ได้มาพบกับคุณหมอกุลวี ท่านเป็นผู้คิดค้นเทคนิค CFAE Ablation คือการจี้ไฟฟ้าหัวใจบริเวณที่มี Complex Fractionated Atrial Electrogram โดยการนำเทคโนโลยี 3-Dimension Electroanatomical Mapping มาใช้จำลองภาพ 3 มิติของหัวใจ ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นการทำงานของกระแสไฟฟ้าในหัวใจได้อย่างชัดเจน โดยจะทำการจี้คลื่นไฟฟ้าตรงตำแหน่งที่ผิดปกติได้อย่างแม่นยำ มีโอกาสรักษาให้หายขาดได้ในอนาคต ( ปัจจุบันยังอยู่ในกระบวนการวิจัยที่ยังไม่สามารถการันตีได้ว่าจากกระบวนการรักษานี้จะทำให้สภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะหายขาด 100 % )
หลังจากมีการผ่าตัด ผ่านเส้นเลือดแดงเพื่อส่งคลื่นไปจี้ไฟฟ้าที่หัวใจเป็นที่เรียบร้อย พักฟื้นหนึ่งวัน ก็ได้พูดคุยกับทีมแพทย์ ปรึกษากับครอบครัว พบว่ายังมีความเสี่ยงอีกเล็กน้อยที่อาจเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะขึ้นได้อีก แต่ยังไม่อาจยอมรับได้กับความเสี่ยงนี้ จึงต้องมีการผ่าตัดอีกครั้ง เพื่อฝังเครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ ( Automatic Implantable Cardioverter Defibrillator,AICD ) คอยทำหน้าที่ระงับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยฝังบริเวณเหนือหัวใจต่อสายเข้าเส้นเลือดดำที่ส่งไปหัวใจ นอนโรงพยาบาล 4 คืน กระบวนการรักษาโดยทั่วไปเป็นที่น่าพอใจ คอยระวังแค่เครื่อง AICD ที่ใส่เข้าไปไม่ให้เคลื่อนที่ ใช้เวลา 2-3 เดือนก็สามารถทำกิจกรรมทุกอย่างได้ตามปกติ
ขอบคุณทุกคนที่เป็นกำลังใจให้ และหวังว่าประสบการณ์ครั้งนี้จะเป็นประโยชน์กับอีกหลายๆคนที่ยังมีองค์ความรู้ไม่มากนัก
เกี่ยวกับโรคไหลตาย
ทั้งนี้ผมยังได้เข้าร่ามโครงการวิจัย “ การค้นหาสาเหตุทางพันธุกรรมของโรคไหลตาย ( กลุ่มอาการบรูกาดา ) โดยสภาวิจัยแห่งชาติ ที่มี ศ.น.พ.กุลวี เนตรมณี เป็นผู้อำนวยการโครงการ ร่วมกับคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอีก 7 แห่งทั่วประเทศ เนื่องจากสาเหตุของโรคนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่นอน การทำโครงการวิจัยนี้จะช่วยให้แพทย์ทำการวินิจฉัยโรคได้ง่ายขึ้นและสามารถทำการรักษาได้อย่างถูกต้องในอนาคต.😊
สุขภาพ กรุงเทพฯ, นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา, สุโขทัย, สุพรรณบุรี,