ซึ่งจะดำเนินการอบท่อระบายน้ำหรือท่อน้ำทิ้ง และสามารถทำลายลูกน้ำยุง ซึ่งเป็นระยะตัวอ่อน และอาศัยอยู่ในท่อระบายน้ำ
ก่อนที่จะเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยต่อไป
ในโลกนี้มียุงกว่า 4,000 จัดอยู่ในอันดับ Diptera วงศ์ Culicidae ชนิดของยุงที่สำคัญในทางการแพทย์
มี 4 ชนิด คือ
1. ยุงลาย (Genus Aedes)
2. ยุงคิวเล็กซ์ หรือ ยุงรำคาญ (Genus Culex)
3. ยุงก้นปล่อง (Genus Anopheles)
4. ยุงเสือ หรือ ยุงฟิลาเรีย (Genus Mansonia)
ชีววิทยาของยุง
ยุงมีการเจริญเติบโตแบบสมบูรณ์ หมายถึง การเจริญเติบโตที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างในแต่ละระยะแตกต่าง
กันมากแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ
ระยะไข่ (egg) ระยะลูกน้ำ (larva) ระยะตัวโม่ง (pupa) และระยะตัวเต็มวัย (adult) ระหว่างการเจริญเติบโต
ในแต่ละระยะต้องมีการลอกคราบ (molting)
ไข่ยุงแต่ละชนิดมีขนาดและลักษณะไม่เหมือนกัน จากลักษณะการวางไข่อาจบอกชนิดของกลุ่มยุงได้
ยุงชอบวางไข่บนผิวน้ำ หรือบริเวณชื้นๆ เช่น บริเวณขอบภาชนะเหนือระดับน้ำ ใช้เวลา 2-3 วัน จึงฟักตัว
ออกเป็นลูกน้ำ
การวางไข่ของยุงแบ่งออกเป็น 4 ประเภท
- วางไข่ใบเดี่ยวๆ บนผิวน้ำ เช่น ยุงก้นปล่อง
- วางไข่เป็นแพ (raft) บนผิวน้ำ เช่น ยุงรำคาญ
- วางไข่เดี่ยวๆ ตามขอบเหนือระดับน้ำ เช่น ยุงลาย
- วางไข่ติดกับใบพืชน้ำเป็นกลุ่ม เช่น ยุงเสือ หรือยุงฟิลาเรีย
ลูกน้ำยุงแต่ละชนิดอาศัยอยู่ในน้ำต่างชนิดกัน เช่น ตามภาชนะขังน้ำต่างๆ ตามบ่อน้ำ หนอง ลำธาร โพรงไม้
หรือกาบใบไม้ที่อุ้มน้ำเป็นต้น อาหารของลูกน้ำยุงได้แก่ สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ในนั่นเอง เช่น แบคทีเรีย ยีสต์ สาหร่าย
ลูกน้ำจะลอกคราบ 4 ครั้ง เมื่อลอกคราบครั้งสุดท้ายกลายเป็นตัวโม่ง การเจริญเติบโตในระยะลูกน้ำ
ใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน ขึ้นอยู่กับชนิดของลูกน้ำ อาหาร อุณหภูมิ และความหนาแน่นของลูกน้ำด้วย
ตัวโม่งรูปร่างผิดไปจากลูกน้ำ ส่วนหัวเชื่อมต่อกับส่วนอก รูปร่างลักษณะคล้ายเครื่องหมายจุลภาค ( , )
ระยะนี้ไม่เกินอาหารเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว ระยะนี้สั้นใช้เวลาเพียง 1-3 วัน
ตัวยุงแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
- ส่วนหัว (Head) มีลักษณะกลมเชื่อมติดกับส่วนอก
- ส่วนอก (thorax) มีปีก 1 คู่ ด้านบนของอก ปกคลุมด้วยขนหยาบๆ และเกล็ด ซึ่งมีสีและลวดลายต่างๆ กัน
เราใช้ลวดลายนี้สำหรับแยกชนิดยุง
- ส่วนท้อง (abdomen) มีลักษณะกลม ยาว ประกอบด้วย 10 ปล้อง แต่จะเห็นชัดเจนเพียง 8 ปล้อง
ปล้องที่ 9-10 จะดัดแปลงเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ ในยุงตัวผู้จะใช้ส่วนนี้แยกชนิดของยุงได้
อาหารยุง
ยุงทั้ง 2 เพศ กินน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ แต่ส่วนใหญ่ยุงตัวเมียยังต้องการ
โปรตีนจากเลือดมนุษย์ หรือสัตว์ เพื่อช่วยในการเจริญของไข่และใช้สร้างพลังงาน ยุงตัวเมียเท่านั้นที่กัดคน
และสัตว์ ยุงแต่ละชนิดชอบกินเลือดต่างกัน เลือดจะเข้าไปช่วยในการเจริญของไข่ เวลาที่ยุงออกหากิน
ก็ไม่เหมือนกัน เช่น ยุงลายชอบหากินในเวลากลางวัน ส่วนยุงรำคาญชอบหากินในเวลากลางคืน
ยุงแม่ไก่ชอบหากินตอนพลบค่ำและย่ำรุ่ง เป็นต้น
การบิน
มีลีกษณะเฉพาะสำหรับยุงแต่ละชนิด เช่น ยุงลายบ้านจะบินไปไม่ไกลบินได้ประมาณ 30-300 เมตร
ยุงลายสวนบินได้ประมาณ 400-600 เมตร ยุงก้นปล่องบินได้ประมาณ 0.5-2.5 กิโลเมตร
ส่วนยุงรำคาญบินได้ตั้งแต่ 200 เมตรถึงหลายกิโลเมตร ยุงพาหะนำโรคไข้สมองอักเสบบินได้ไกลถึง
50 กิโลเมตร ยุงตัวเมียสามารถบินได้ไกลกว่ายุงตัวผู้
การผสมพันธุ์ของยุง
ยุงตัวผู้ลอกคราบโผล่ออกจากตัวโม่งก่อนยุงตัวเมีย และอยู่ใกล้ๆ แหล่งเพาะพันธุ์ เมื่อตัวเมียออกมา 1-2 วัน
จะผสมพันธุ์กัน หลังจากผสมพันธุ์แล้วยุงตัวเมียจะออกหาแหล่งเลือด แต่ยุงบางชนิดต้องการเลือดก่อน
การผสมพันธุ์
อายุของยุง
ยุงตัวผู้มักมีอายุสั้นกว่ายุงตัวเมีย โดยยุงตัวผู้มีอายุประมาณ 1 สัปดาห์ ยกเว้นในกรณีที่มีอาหารสมบูรณ์
และมีความชื้นเหมาะสมจะมีอายุอยู่ได้เป็นเดือน ส่วนยุงตัวเมียมีอายุ 1-5 เดือนอายุของยุงขึ้นอยู่กับ
ปัจจัยหลายอย่าง เช่น ในฤดูร้อน ยุงมีกิจกรรมมาก ทำให้อายุสั้นเฉลี่ยประมาณ 2 สัปดาห์ ในฤดูหนาวยุง
มีกิจกรรมน้อย จึงอายุยืน ในบางพื้นที่ยุงสามารถจำศีลตลอดฤดูหนาว
วงจรชีวิตของยุง
กำจัดยุง กำจัดลูกน้ำยุงลาย การป้องกันกำจัดยุง
บริษัท ซี ซี เอส จำกัด มีวิธีการเลือกใช้ชนิดสารเคมี, ประเภทของเครื่องมือ / อุปกรณ์ที่ในใช้การบริการ ให้เหมาะกับ
แมลงเป้าหมาย
ในอาคารสถานที่
เท่านั้น ซึ่งจะดำเนินการอบท่อระบายน้ำหรือท่อน้ำทิ้ง และสามารถทำลายลูกน้ำยุง ซึ่งเป็นระยะตัวอ่อน
และอาศัยอยู่ในท่อระบายน้ำ ก่อนที่จะเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยต่อไป
ภาชนะขังน้ำ เป็นต้น
เช่น กองขยะ ถังขยะ เป็นต้น