จำหน่ายเหล็กทุกชนิด รับตัวแทนจำหน่ายเหล็กทั่วประเทศ
Dowel and Tie Bar หรือ เหล็กเดือยและเหล็กยึด คือเหล็กเส้น ที่ตัดแบ่งเป็นท่อนๆ ใช้ในงานเสริมคอนกรีต เชื่อมคต่อระหว่างรอยต่อ
ของงานถนน และงานพื้น ในหน้าที่การใช้งานต่างกันดังนี้
Dowel หรือเหล็กเดือย
คือท่อนเหล็กเส้นกลม (Round Bar) ใช้เสริมคอนกรีตพื้นถนนใน”แนวกว้าง”
จะนำมาใช้เสร้มคอนกรีตเชื่อมต่อพื้นและถนน ในรอยต่อที่จำเป็นต่อการก่อสร้างซึ่งจงใจสร้างขึ้นในรูปแบบต่างๆ ดังนี้
รอยต่อเพื่อการบังคับรอยแตก – คอนกรีตจะหดตัวจากการศูนย์เสียน้ำ จากปฏิกิริยาเคมี ระหว่างที่คอนกรีตแข็งตัว
จะเกิดรอยร้าวกระจายสุ่มไปทั่วบริเวณ หากไม่มีการบังคับรอยแตก ส่งผลเสียด้านความแข็งแรงของโครงสร้างพื้น
จึงจำเป็นต้องมีการออกแบบ สร้างรอยแนวที่มีความแข็งแรงน้อยกว่าคอนกรีตส่วนอื่น เพื่อให้รอยร้าวเกิดขึ้นเฉพาะบริเวณแนวรอยดังกล่าว
โดยตัดคอนกรีตด้วยเลื่อย หรือก่อนเทคอนกรีต จะใช้แผ่นโฟม แผ่นพลาสติก วางลงใจในแบบก่อน โดยทั่วไป ระยะห่างระหว่างรอยต่อจะไม่เกิน 12 เมตร
รอยต่อก่อสร้าง – คือ รอยต่อที่เกิดจากการเทคอนกรีตต่อจากการก่อสร้างที่ดำเนินการไม่เสร็จใน 1 วัน
ซึ่งมักถูกวางแผนให้เป็นรอยต่อเดียวกันกับ”รอยต่อเพื่อบังคับรอยแตก”
เดือยในพื้นคอนกรีต ช่วยให้แผ่นพื้นที่แยกกันทำงานร่วมกันเป็นแผ่นใหญ่ ช่วยให้พื้นรับน้ำหนักได้ดีขึ้น
เนื่องจากเหล็กเดือยช่วยกระจายแรงจากคอนกรีตแผ่นหนึ่งสู่อีกแผ่นหนึ่ง ช่วยให้คอนกรีตแต่ละแผ่นไม่ต้องรับน้ำหนักที่มากเกินไป
ป้องกันขอบรอยต่อเสียหาย หรือป้องกันการทรุดตัวไม่เท่ากันของคอนกรีต ทำให้เกิดการสะดุด
แต่การใส่เหล็กเดือยในรอยต่อต้องยอมให้แผ่นคอนกรีตเคลื่อนตัว ขณะที่คอนกรีตขยายหรือหดตัว เหล็กเดือยจะต้องไปไม่ขัดขวาง
การเคลื่อนตัวดังกล่าว โดยการเคลือบผิวเหล็กเดือยด้านใดด้านหนึ่งด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อไม่ให้เหล็กเดือยด้านนั้นยึดติดกับคอนกรีต
เหล็กเดือยจะวางเรียงตามแนวกว้าง หรือขนาดกับถนนในแนวระดับ โดยเหล้กเดือนแต่ละเส้นจะวางห่างกันประมาณ 30 เซนติเมตร
ขนาดแส้นผ่านศูนย์กลางเหล็กเส้นกลมที่เหมาสมกับการนำมาทำเหล้กเดือย คือ 25 มม. (RB25) เหมาะกับพื้นคอนกรีที่มีความหนา 20-25 เซนติเมตร
Tie Bar หรือ เหล็กยึด
คือ ท่อนเหล้กเส้นชนิดข้ออ้อย (Deformed Bar) ทีใช้เสริมในแนวรอยต่อแนวยาวของพื้นถนน ซึ่งเหล็กข้ออ้อยมีแรงยึดเกาะกับคอนกรีตมากกว่าเหล็กเส้นกลม
เพื่อความสะดวกในการทำการก่อสร้างพื้นถนน โดยปกติแล้วจะทำการเทคอนกรีตทีละช่องจราจร(Lean) เพื่อให้มีทางสรรจรได้ในขณะก่อสร้าง
การเชื่อมพื้นถนนแต่ละช่องจราจรที่ทำการก่อสร้างไม่พร้อมกัน ให้เกิดการถ่ายแรงสมบูรณ์ ยึดติดเป็นแผ่นเดียวกัน
ไม่แยกตัวจากการที่คอนกรีตหดตัวในระหว่างการแข็งตัว, คอนกรีตขยายตัวจากสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง, และการรับแรงในแต่ละช่องจราจรไม่เท่ากัน
เหล็กเส้นชนิดข้ออ้อยที่นำมาทำเป้นเหล็กยึด ควรมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 16 มม. (DB16) ตามมาตรฐานของกรมทางเหลวง
และควรใช้เหล็กเส้นชนิดข้ออ้อยที่ระดับคุณภาพ (เกรด) SD40 โดยวางเรียงในแนวยาวตั้งฉากกับแนวถนน ให้แต่ละเส้นห่างกัน 60 ซม.
ในแนวระดับกึ่งกลางของความหนาพื้นถนนคอนกรีต