การเวลาเปลี่ยนแปลงไปสังคมของโลกมีพัฒนาการและวิวัฒนาการไปตามเวลาวิวัฒนาการทางการพิมพ์ก็เช่นกันโดยการพิมพ์เริ่มจากยุคโบราณมนุษย์รู้จักการสื่อสารกันด้วย ภาพวาด การเขียนสัญลักษณ์ ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นตัวอักษรภาพ และตัวอักษรที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ความสามารถของมนุษย์เกิดจากการเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆการสร้างแม่พิมพ์ในอดีตจะแกะสลักตัวอักษรหรือภาพลงบนท่อนไม้ ก้อนหิน งาช้าง หรือกระดูกสัตว์ นำแม่พิมพ์ที่ได้ไปกดลงบนดินเหนียว ขี้ผึ้ง หรือครั่ง ปรากฏเป็นตัวอักษรหรือภาพตามแม่พิมพ์ และเมื่อมีการคิดค้นการทำกระดาษขึ้น การพิมพ์ก็ยิ่งพัฒนาขึ้นตามลำดับ
1.วิวัฒนาการการพิมพ์พื้นนูน (Relief Printing)
ชาวจีนได้คัดลอกตำราและรูปโดยแกะสลักตัวอักษรและรูปบนแผ่นหินโดยให้ส่วนที่ เป็นตัวอักษรหรือลายเส้นนูนขึ้น แล้วนำกระดาษมาทาบ ใช้ถ่านถูจนเกิดภาพหรือตัวอักษรบนกระดาษ ชาวจีนชื่อ ไหว่ตัง ได้คิดค้นทำหมึกได้สำเร็จ จึงมีการนำตราประทับซึ่งใช้ท่อนไม้หรือก้อนหินมาแกะทำเป็นแม่พิมพ์ จุ่มหมึกแล้วประทับบนกระดาษและวัสดุอื่นๆ จากการทำตราประทับเล็กๆ ได้มีการทำแม่พิมพ์ที่ใหญ่ขึ้น มีข้อความและภาพมากขึ้น และสามารถนำแม่พิมพ์ดังกล่าวมาจุ่มหมึกทำสำเนาบนวัสดุต่างๆ ได้เป็นจำนวนมาก การพิมพ์ลักษณะนี้เรียกว่า การพิมพ์บล็อกไม้เครื่องจักรที่ใช้พิมพ์แบบพื้นนูนในยุคแรกๆ อาศัยแรงงานในการทำงานเป็นหลัก เป็นเครื่องแบบง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ต่อมาได้มีการพัฒนาเครื่องพิมพ์ให้ดีขึ้นเรื่อยๆ
2.วิวัฒนาการการพิมพ์พื้นลึก (Recess Printing)
การพิมพ์พื้นลึกเมื่อสมัยหนึ่งโรงพิมพ์มักนิยมใช้พิมพ์กันอย่างมาก จะต่างกับการพิมพ์พื้นนูนคือ ส่วนที่เป็นภาพที่ต้องการให้ปรากฏหมึกพิมพ์จะเป็นร่องลึกลงไปในแม่พิมพ์ เพื่อขังหมึกไว้แล้วส่งผ่านให้วัสดุใช้พิมพ์ต่อไปแกะท่อนไม้เป็นร่องลึกและใช้เป็นแม่พิมพ์การพิมพ์พื้นลึกอีกประเภทหนึ่งคือ การพิมพ์แพด (Pad Printing) แม่พิมพ์แพดเป็นแม่พิมพ์แบบพื้นลึกทำจากโลหะหรือพอลิเมอร์ หลักการพิมพ์ของการพิมพ์ลักษณะนี้คือเมื่อแม่พิมพ์รับหมึกก็จะถ่ายหมึกให้ ตัวกลางซึ่งทำจากยางซิลิโคนที่เรียกว่า แพด (Pad) แพดจะถ่ายโอนหมึกให้กับวัสดุใช้พิมพ์อีกทอดหนึ่ง
3.วิวัฒนาการการพิมพ์พื้นราบ (Planographic Printing)
ชาวโบฮีเมียนได้ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์หิน (Lithography) ซึ่งเป็นการพิมพ์พื้นราบ โดยทำภาพที่ต้องการรับหมึกบนแม่พิมพ์หินให้เป็นไข แล้วใช้น้ำผสมกาวกระถินลูบบนแม่พิมพ์หินดังกล่าว น้ำที่ผสมกาวกระถินจะไม่เกาะบริเวณไข และเมื่อคลึงหมึกลงบนแม่พิมพ์ หมึกมีคุณสมบัติเป็นน้ำมันจะไม่เกาะติดบริเวณที่เป็นน้ำ แต่จะไปเกาะติดบริเวณที่เป็นภาพซึ่งเป็นไข เมื่อนำแผ่นกระดาษมาทาบบนแม่พิมพ์ก็จะเกิดภาพบนกระดาษให้ภาพที่คมชัดสวยงามกว่าระบบการพิมพ์อื่นในยุคนั้น
4.วิวัฒนาการการพิมพ์พื้นฉลุ
การพิมพ์พื้นฉลุมีมาตั้งแต่ยุคโบราณโดยทำแม่พิมพ์แบบง่ายๆ ด้วยการตัดเจาะกระดาษหรือวัสดุอื่นเป็นช่องตามลักษณะของรูปที่ต้องการ ทาบแม่พิมพ์ลงบนวัสดุที่ต้องการพิมพ์แล้วใช้หมึกพ่นหรือปาดบนแม่พิมพ์ การพิมพ์แบบนี้ว่า การพิมพ์สเตนซิล (Stencil Printing)ชาวญี่ปุ่นได้ใช้เส้นผมของคนและกาวมาทำแม่พิมพ์แบบฉลุขึ้น เรียกกรรมวิธีการพิมพ์นี้ว่า การพิมพ์แฮร์สเตนซิล (Hair Stencil) ต่อมาได้มีการใช้เส้นไหมซึ่งมีความคงทนกว่ามาใช้ทำแม่พิมพ์ เรียกกรรมวิธีนี้ว่า การพิมพ์ซิลค์สกรีน (Silkscreen Printing) การพิมพ์ซิลค์สกรีนได้แพร่เข้าไปในโรงพิมพ์ยุโรปเป็นที่นิยมทั้งในฝรั่งเศสและอังกฤษ และยังเผยแพร่ไปยังทวีปอเมริกา
5.วิวัฒนาการการพิมพ์ดิจิตอล (Digital Printing)
พัฒนาด้านคอมพิวเตอร์ ใน ค.ศ. 1945 โรงพิมพ์จะใช้เครื่องพิมพ์ที่ต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์ในยุคแรกๆ ใช้พิมพ์เฉพาะตัวอักษรโดยไม่ได้เน้นความสวยงามได้มีการจำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเรียกว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ และเครื่องพิมพ์ที่ต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์ หรือพริ้นเตอร์ก็ได้มีการพัฒนาด้วยเช่นกัน เริ่มจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องพริ้นเตอร์โดยใช้หลักการพิมพ์แบบต่างๆ เช่น การพิมพ์แบบถ่ายโอนความร้อน การพิมพ์แบบพ่นหมึก/อิงค์เจ็ท และการพิมพ์แบบไฟฟ้าสถิต ซึ่งเครื่องพิมพ์แบบไฟฟ้าสถิตที่ใช้ลำแสงเป็นแสงเลเซอร์จะเรียกว่า เครื่องพิมพ์เลเซอร์ หรือเลเซอร์พริ้นเตอร์
โดยในปัจจุบันนั้นการพิมพ์เป็นปัจจัยสำคัญในสื่อสารและการทำงานโดยบางงานต้องการความละเอียดและแม่นยำบางอย่างถือเป็นความลับที่ไม่สามารถเปิดเผยได้ ซึ่งทาง โรงพิมพ์ เชาวกิจการพิมพ์ รับพิมพ์สิ่งพิมพ์ทุกชนิด ใส่ใจในทุกรายละเอียดของงาน ราคายุติธรรม บริการด้วยความซื่อตรงต่อลูกค้าด้วยประสบการณ์มากกว่า 25 ปี เป็นเครื่องพิสูจน์ความจริงใจ และบริการต่อลูกค้าได้เป็นอย่างดีเชื่อใจได้ งานด่วนงานเร่งยินดีพิมพ์มากพิมพ์น้อยยินดีให้บริการ
ห้างหุ้นส่วนจำกัด เชาวกิจการพิมพ์
ที่อยู่: 26/3- 26/4 ซอย ลาดพร้าว122 แขวง พลับพลา เขต วังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310
โทรศัพท์ : 02-934-1018, 02-934-1019, 02-934-1020
อีเมล: chaovakitpress@gmail.com
ID Line: chaovakitpress
เว็บไซต์ : https://chaovakitpress.yellowpages.co.th/