ปัจจัยที่สำคัญมากที่สุดส่วนหนึ่งในการสร้างบ้านหรืออาคารนั่นก็คือเสาเข็ม ที่ทำหน้าที่ในการถ่ายเทน้ำหนักของตัวบ้านหรืออาคารลงสู่พื้นดิน ซึ่งเสาเข็มมีหลายประเภท หนึ่งในประเภทที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือเสาเข็มเจาะ โดยขั้นตอนการลงเสาเข็มเจาะ เป็นดังนี้
1.การวางตำแหน่งเสาเข็มเจาะ
เริ่มจากการกำหนดตำแหน่งเสาเข็มโดยช่างสำรวจเมื่อได้ตำแหน่งแล้วจึงทำการวางหมุด ณ ตำแหน่งศูนย์กลางของเสาเข็มโดยทำการระบุตำแหน่งเสาเข็มออกเป็น 2 แกนตั้งฉากกัน เพื่อใช้สำหรับตรวจสอบตำแหน่งที่แน่นอนในขั้นตอนต่อไป
2.การติดตั้งปลอกเหล็กชั่วคราว
การติดตั้งปลอกเหล็กชั่วคราวเพื่อป้องกันดินอ่อนชั้นบนพังทลาย ความยาวของปลอกเหล็กชั่วคราวที่ใช้ประมาณ 15 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางจะเท่ากับขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเสาเข็มเจาะ
3.ขั้นตอนการขุดเจาะ
จะเริ่มทำการขุดเจาะโดยใช้สว่านนำ จนได้ระดับความลึกประมาณ 15 เมตรจึงเติมสารละลายเพื่อเพิ่มเสถียรภาพผนังของหลุมเจาะไม่ให้พังทลาย ภายหลังจากเติมสารละลายจะทำการเปลี่ยนหัวเจาะเป็นถังหมุนเก็บดินรูปทรงกระบอก และดำเนินการเจาะจนถึงระดับความลึกประมาณ 50 เมตร
4.การทำความสะอาดก้นหลุม
ภายหลังจากเจาะเรียบร้อยจะมีการเก็บดินตะกอนก้นหลุมโดยใช้ถังเก็บตะกอนที่ออกแบบพิเศษ
5.การขนย้ายดินหลังขุดเจาะ
ดินที่ถูกขุดจะถูกนำไปกองอย่างเป็นระเบียบและขนย้ายออกจากหน้างานเพื่อนำไปทิ้ง
6.การติดตั้งเหล็กเสริมในเสาเข็ม
การผูกเหล็กและประกอบเหล็กเสริมของเสาเข็มจะทำตามแบบ โดยมีการทาบเหล็กและใส่ลูกปูนตามข้อกำหนด การเชื่อมต่อกรงเหล็กแต่ละท่อนจะใช้เหล็กรูปตัวยูยึด
7.การเทคอนกรีต
การเทคอนกรีตต้องเทอย่างต่อเนื่อง โดยท่อเทคอนกรีตต้องจมอยู่ในเนื้อคอนกรีตอย่างน้อย 3-5 เมตร ระดับคอนกรีตเมื่อเทเสร็จแล้วจะต้องอยู่เหนือจากระดับตัดหัวเข็มตามที่ผู้ออกแบบกำหนดไว้เพื่อว่าหลังจากตัดหัวเสาเข็มจะได้พบแต่เนื้อคอนกรีตที่ดีเท่านั้น
8.การบันทึกระเบียน
จะมีการบันทึกระเบียนประวัติของเสาเข็มเจาะทุกๆต้นโดยบันทึกในแบบฟอร์มที่ได้รับอนุมัติจากผู้ว่าจ้าง
9.ทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มเจาะ
อายุของเสาเข็มต้องไม่น้อยกว่า 7 วัน ทดสอบด้วยวิธี Seismic test เริ่มจากการติดตั้งหัววัดสัญญาณคลื่นความเค้นบนหัวเสาเข็ม จากนั้นเคาะหัวเสาเข็มด้วยฆ้อนทดสอบ คลื่นความเค้นอัด ที่เกิดจากการเคาะดังกล่าวจะวิ่งผ่านลงไปในตัวเสาเข็ม คลื่นความเค้นที่สะท้อนกลับขึ้นมา ณ จุดต่าง ๆ ดังกล่าวจะถูกตรวจจับด้วยหัววัดสัญญาณ และถูกส่งไปยังเครื่อง Pile Integrity Tester ก่อนแสดงผลที่หน้าจอทดสอบ
10.การทดสอบการรับน้ำหนักปลอดภัยของเสาเข็มเจาะ
เจาะรูเสาเข็มเพื่อติดตั้งหัววัดสัญญาณ Strain Gauges และ Accelerometer อย่างละ 2 ชุด โดยจะติดตั้งเป็นคู่ ที่ผิวด้านข้างของเสาเข็มในด้านที่ตรงกันข้ามกัน จากนั้นต่อสายส่งสัญญาณเข้ากับเครื่อง Pile Driving Analyzer แล้วทำการทดสอบโดยใช้ตุ้มเหล็กที่มีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 1.5% ของน้ำหนักทดสอบสูงสุด ปล่อยกระแทกลงบนหัวเสาเข็ม จากนั้นเก็บสัญญานนำไปทำการวิเคราะห์
11.การทำเสาเข็มต้นต่อไป
เสาเข็มต้นต่อไปต้องอยู่ห่างจากเสาเข็มที่เพิ่งทำแล้วเสร็จ ไม่น้อยกว่า 6 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางเสาเข็ม หรือใกล้เคียงเสาเข็มต้นเดิมที่ทำแล้วเสร็จไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง
ซึ่งขั้นตอนการลงเสาเข็มเจาะนั้นต้องคำนึงถึงด้านของความปลอดภัยและตัวเสาเข็มต้องได้คุณภาพ ต้องผลิตจากบริษัทที่ได้รับการรับรองมาตรฐานอย่าง บริษัท เด่นพานทอง จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านฐานราก ได้รับความเชื่อถือจากโครงการชั้นนำมากมาย ทางบริษัทมีวิศวกรผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์เฉพาะทางอย่างมืออาชีพ มาพัฒนางานด้านต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ
บริษัท เด่นพานทอง จำกัด
ที่อยู่: 32/2 หมู่ 1 ตำบลหนองหงษ์ อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี 20160
โทร : 08-4779-1919, 06-1359-7891
Email: dpt_den2555@hotmail.com
เว็บไซต์: https://denphanthong.yellowpages.co.th